การปฏิรูปเงินตรา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปฏิรูปเงินตรา
คำว่า “ ปฏิรูป ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ ปรับปรุงให้สมควร ” ซึ่งเป็นคำที่สะท้อนให้ท่านผู้อานเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงระบบเงินตราไทยให้สมควรแก่เวลา และสถานการณ์ในขณะนั้นอย่างไรบ้าง
เงินตราที่ใช้ตอนต้นราชกาล คือ เงินพดด้วง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2396 มีผู้ทำเงินพดด้วงปลอม ทำให้ประชาชนเดือดร้อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้พิมพ์ “ หมาย ” เงินกระดาษชนิดแรกออกใช้ มี 3ชนิดราคาคือ หมายราคาต่ำ หมายราคากลาง และหมายราคาสูง ทำด้วยกระดาษสีขาว พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกสีดำ ประทับสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี รูปพระแสง-จักร และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ แต่ประชาชนไม่นิยม จึงเลิกใช้ไปในปีใดไม่มีการประกาศไว้แน่ชัด
ในราชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภัยสงครามระหว่างไทยกับพม่า ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้หมดสิ้นไป แตรกลับมีภัยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกเข้ามาแทนที่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระวิจารณญาณในการที่จะรักษาพระราชอาราเขตให้รอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมตะวันตก ที่กำลังแผ่ขยายมายังประเทศในแถบอุษาอคเนย์ พระองค์จึงต้องทรงทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับประเทศต่างๆ โดยเริ่มทำกับอังกฤษเป็นประเทศแรกในพ.ศ.2398 รู้จักกันในนาม “ สนธิสัญญาเบาริง ”และต่อมาได้ทำสัญญากับนาๆประเทศ คือ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และปรัสเซีย ตามลำดับ เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษ หลังจากทำสนธิสัญญาเบาริงเพียง 1 ปี การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศก็เจริญยิ่งขึ้น พ่อค้าได้นำเงินเหรียญต่างประเทศ อาทิ เหรียญเม็กซิโก เหรียญฮอลันดา เป็นต้น มาใช้ซื่อสินค้าในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีผู้ใดรับเงินเหรียญไว้เพราะไม่เคยใช้กันมาก่อน และไม่เชื่อถือค่าของเงิน ทำให้พ่อค้าต้องนำเงินเหรียญของตนไปแลกกับเงินพดด้วง แต่เนื่องจากเงินพดด้วงผลิตด้วยมือ จึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ เกิดความไม่สะดวกในด้านการค้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยเป็นเงินเหรียญแบนซึ่งถือว่าเป็นเงินตราสมัยใหม่ของไทยเป็นครั้งแรก เพื่อให้พอเพียงกับการขยายตัวทางการค้าของประเทศ
เงินเหรียญแบน
ใน พ.ศ.2399 พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ให้ทดลองผลิตเหรียญแบน หรือเรียกในสมัยนั้นว่า” เงินแป ” ขึ้นใช้สองชนิด คือ เหรียญทองคำและเหรียญเงินตราพระแสงจักร-พระมงกุฎ-พระเต้า และเหรียญ ทองคำและเหรียญเงิน ตราพระ มหา มงกุฎ-กรุง เทพ เหรียญชนิดนี้ที่สองนี้ ต่อมาเมื่อได้รูปแบบมาตรบานแล้ว ได้กลายเป็นแบบให้ชาวต่างประเทศแกะเป็นแม่ตราเพื่อทำเหรียญแบบ ต่อไป เหรียญทั้งสองชนิดเป็นเหรียญแบนแบบยุโรปที่ผลิตด้วยมือ โดยตีโลหะเป็นแผ่นแบนๆ แล้วตัดให้เป็นรูปเหรียญกลมๆ ตามขนาดและน้ำหนักที่ต้องการ แล้วใช้แม่ตราตีประทับ แต่ผลิตออกใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็โปรดให้เลิกไป เพราะผลิตได้ช้า และไม่ค่อยเรียบร้อย
ต่อ มาในปี พ.ศ.2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) เป็นราชทูตไป เฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรียที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรียได้จัดส่งเครื่องทำเงินเหรียญขนาดเ,กมาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้จัดทำเหรียญ ทองคำ ชนิดราคาพัดดึงส์ และเหรียญเงิน ตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ ชนนิดราคาหนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง เนื่องจากผลิตจากเครื่องจักรที่ได้ถวายเป็นราชบรรณาการ จึงเรียกว่า “ เหรียญบรรณาการ ”นับเป็นเหรียญแบนที่ผลิตจากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อโรงกษาปณ์สิทธิการสามารถเดินเครื่องจักรผลิตเงินเหรียญได้ในปี พ.ศ.2403 จึงไม่ได้ใช้เครื่องดังกล่าวอีกตลอดราชกาล
ต่อมา เครื่องจักรทำเงินเหรียญที่ใช้แรงดันไอน้ำ ซึ่งคณะทูตไทยได้สั่งซื่อจากบริษัท เทเลอร์ เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ได้จัดส่งเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ตอนปลายปี พ.ศ.2401 แต่ติดปัญหาด้วยช่างไทยชาวต่างประเทศที่มีหน้าที่ติดตั้งได้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ จนท้ายที่สุด นายโหมด อมาตยกุล ( พระยากษาปณ์กิจโกศล ) ได้ติดตั้งที่ค้างอยู่จนสำเร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2403 และรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้าง “ โรงกระสาปน์สิทธิการ ” อันเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกของไทยขึ้นในพระบรมราชวัง ริมประตูสุวรรณบริบาลทิศตะวันออก และเริ่มผลิตเหรียญเงินตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร ซึ่งคล้ายกับเหรียญบรรณาการ มี 5 ชนิดราคา คือ หนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง กึ่งเฟื้อง และเหรียญทองพัดดึงส์อีกจำนวนหนึ่งด้วย ออกใช้เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2403 แต่ยังโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้เงินพดด้วงอยู่ เพียงแต่ไม่ผลิตเพิ่ม
สำหรับเงินปลีกนั้น ยังคงใช้หอยเบี้ยในการซื่อขายเหมือนที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในรัชสมัยของพระองค์มักประสบปัญหาราคาเบี้ยไม่แน่นอน ขึ้นกับปริมาณการนำเข้ามาขายของพ่อค้า ใน พ.ศ. 2405 พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ผลิตเหรียญดีบุกผสมทองแดง ตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร ขึ้นใช้เป็นเงินปลีก บางขนาดเล็กเรียกว่า เบี้ยกะแปะ หรือกะแปะดีบุก ขนาดใหญ่เรียกว่า อัฐ เท่ากับ เบี้ยขนาดเล็กเรียกว่า โสฬส เท่ากับ 50 เบี้ย
เมื่อ พ.ศ. 2406 มีทองคำเข้ามาในประเทศไทยมาก รัชกาลที่ 4 จึงมีพระบรมราชโองการให้ทำเหรียญทองคำ 3 ขนาด ขนาดใหญ่ราคา 8 บาท เรียกว่า ทศ ขนาดกลางราคา 4 บาท เรียกว่า พิศ และขนาดเล็กราคา 10 สลึง เรียกว่า พัดดึงส์ ซึ่งราชกาลที่ 4 ได้ใช้เหรียญทองจ่ายเบี้ยหวัดแก่ข้าราชการในปีที่รัฐขาดแคลนเหรียญเงินด้วย
ครั้งงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนพรรษา 60 พรรษาใน พ.ศ. 2407 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ฯ ให้ สร้างเหรียญ ทองคำและเงินที่ระลึก เรียกว่า “ เหรียญเฉลิมพระชันษาครบ 60 ปีบริบูรณ์ ” ราษฏรทั่วไปเรียกกันว่า เหรียญแต้เม้ง เพ อพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ