ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เล่าความหลังเรื่องเก่าๆเมื่อครั้งอดิต

การปฏิรูปเงินตรา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปฏิรูปเงินตรา
                คำว่า “ ปฏิรูป ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2542   ให้คำจำกัดความไว้ว่า     “ ปรับปรุงให้สมควร ”   ซึ่งเป็นคำที่สะท้อนให้ท่านผู้อานเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงระบบเงินตราไทยให้สมควรแก่เวลา     และสถานการณ์ในขณะนั้นอย่างไรบ้าง
                เงินตราที่ใช้ตอนต้นราชกาล  คือ  เงินพดด้วง   ต่อมาเมื่อ  พ.ศ. 2396     มีผู้ทำเงินพดด้วงปลอม     ทำให้ประชาชนเดือดร้อน     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้พิมพ์ “ หมาย ” เงินกระดาษชนิดแรกออกใช้   มี  3ชนิดราคาคือ  หมายราคาต่ำ   หมายราคากลาง   และหมายราคาสูง       ทำด้วยกระดาษสีขาว   พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกสีดำ     ประทับสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี     รูปพระแสง-จักร   และพระราชลัญจกรประจำพระองค์   รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ   แต่ประชาชนไม่นิยม   จึงเลิกใช้ไปในปีใดไม่มีการประกาศไว้แน่ชัด
                ในราชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว      ภัยสงครามระหว่างไทยกับพม่า  ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้หมดสิ้นไป     แตรกลับมีภัยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกเข้ามาแทนที่     ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ทรงใช้พระวิจารณญาณในการที่จะรักษาพระราชอาราเขตให้รอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมตะวันตก     ที่กำลังแผ่ขยายมายังประเทศในแถบอุษาอคเนย์      พระองค์จึงต้องทรงทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับประเทศต่างๆ     โดยเริ่มทำกับอังกฤษเป็นประเทศแรกในพ.ศ.2398   รู้จักกันในนาม “ สนธิสัญญาเบาริง ”และต่อมาได้ทำสัญญากับนาๆประเทศ   คือ   ฝรั่งเศส   สหรัฐอเมริกา   เดนมาร์ก   โปรตุเกส   เนเธอร์แลนด์   และปรัสเซีย   ตามลำดับ   เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษ     หลังจากทำสนธิสัญญาเบาริงเพียง 1 ปี   การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศก็เจริญยิ่งขึ้น     พ่อค้าได้นำเงินเหรียญต่างประเทศ   อาทิ   เหรียญเม็กซิโก   เหรียญฮอลันดา   เป็นต้น   มาใช้ซื่อสินค้าในกรุงเทพมหานคร   แต่ไม่มีผู้ใดรับเงินเหรียญไว้เพราะไม่เคยใช้กันมาก่อน   และไม่เชื่อถือค่าของเงิน   ทำให้พ่อค้าต้องนำเงินเหรียญของตนไปแลกกับเงินพดด้วง   แต่เนื่องจากเงินพดด้วงผลิตด้วยมือ   จึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ   เกิดความไม่สะดวกในด้านการค้า   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยเป็นเงินเหรียญแบนซึ่งถือว่าเป็นเงินตราสมัยใหม่ของไทยเป็นครั้งแรก      เพื่อให้พอเพียงกับการขยายตัวทางการค้าของประเทศ
เงินเหรียญแบน
                ใน พ.ศ.2399   พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า   ให้ทดลองผลิตเหรียญแบน    หรือเรียกในสมัยนั้นว่า” เงินแป ”    ขึ้นใช้สองชนิด  คือ   เหรียญทองคำและเหรียญเงินตราพระแสงจักร-พระมงกุฎ-พระเต้า   และเหรียญ ทองคำและเหรียญเงิน   ตราพระ มหา มงกุฎ-กรุง เทพ   เหรียญชนิดนี้ที่สองนี้    ต่อมาเมื่อได้รูปแบบมาตรบานแล้ว    ได้กลายเป็นแบบให้ชาวต่างประเทศแกะเป็นแม่ตราเพื่อทำเหรียญแบบ ต่อไป      เหรียญทั้งสองชนิดเป็นเหรียญแบนแบบยุโรปที่ผลิตด้วยมือ    โดยตีโลหะเป็นแผ่นแบนๆ แล้วตัดให้เป็นรูปเหรียญกลมๆ ตามขนาดและน้ำหนักที่ต้องการ   แล้วใช้แม่ตราตีประทับ   แต่ผลิตออกใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ   ก็โปรดให้เลิกไป   เพราะผลิตได้ช้า   และไม่ค่อยเรียบร้อย
                 ต่อ มาในปี พ.ศ.2400  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า   ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม  บุนนาค ) เป็นราชทูตไป เฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรียที่กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ   ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรียได้จัดส่งเครื่องทำเงินเหรียญขนาดเ,กมาถวาย   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้จัดทำเหรียญ ทองคำ   ชนิดราคาพัดดึงส์  และเหรียญเงิน  ตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ  ชนนิดราคาหนึ่งบาท  สองสลึง  หนึ่งสลึง  และหนึ่งเฟื้อง  เนื่องจากผลิตจากเครื่องจักรที่ได้ถวายเป็นราชบรรณาการ     จึงเรียกว่า “ เหรียญบรรณาการ ”นับเป็นเหรียญแบนที่ผลิตจากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก    เมื่อโรงกษาปณ์สิทธิการสามารถเดินเครื่องจักรผลิตเงินเหรียญได้ในปี พ.ศ.2403  จึงไม่ได้ใช้เครื่องดังกล่าวอีกตลอดราชกาล
                ต่อมา   เครื่องจักรทำเงินเหรียญที่ใช้แรงดันไอน้ำ   ซึ่งคณะทูตไทยได้สั่งซื่อจากบริษัท  เทเลอร์  เมืองเบอร์มิงแฮม   ประเทศอังกฤษ   ได้จัดส่งเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ  ตอนปลายปี พ.ศ.2401   แต่ติดปัญหาด้วยช่างไทยชาวต่างประเทศที่มีหน้าที่ติดตั้งได้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ  จนท้ายที่สุด  นายโหมด  อมาตยกุล ( พระยากษาปณ์กิจโกศล ) ได้ติดตั้งที่ค้างอยู่จนสำเร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2403  และรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้าง  “ โรงกระสาปน์สิทธิการ ”  อันเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกของไทยขึ้นในพระบรมราชวัง   ริมประตูสุวรรณบริบาลทิศตะวันออก   และเริ่มผลิตเหรียญเงินตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร   ซึ่งคล้ายกับเหรียญบรรณาการ  มี 5 ชนิดราคา  คือ  หนึ่งบาท  สองสลึง  หนึ่งสลึง  หนึ่งเฟื้อง  กึ่งเฟื้อง  และเหรียญทองพัดดึงส์อีกจำนวนหนึ่งด้วย   ออกใช้เมื่อวันที่  17  กันยายน  พ.ศ. 2403   แต่ยังโปรดเกล้า ฯ  ให้ใช้เงินพดด้วงอยู่   เพียงแต่ไม่ผลิตเพิ่ม
        สำหรับเงินปลีกนั้น   ยังคงใช้หอยเบี้ยในการซื่อขายเหมือนที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา   แต่ในรัชสมัยของพระองค์มักประสบปัญหาราคาเบี้ยไม่แน่นอน   ขึ้นกับปริมาณการนำเข้ามาขายของพ่อค้า  ใน พ.ศ. 2405   พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ  ให้ผลิตเหรียญดีบุกผสมทองแดง   ตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร   ขึ้นใช้เป็นเงินปลีก    บางขนาดเล็กเรียกว่า  เบี้ยกะแปะ  หรือกะแปะดีบุก   ขนาดใหญ่เรียกว่า  อัฐ  เท่ากับ  เบี้ยขนาดเล็กเรียกว่า โสฬส  เท่ากับ  50 เบี้ย
                เมื่อ พ.ศ. 2406  มีทองคำเข้ามาในประเทศไทยมาก    รัชกาลที่ 4   จึงมีพระบรมราชโองการให้ทำเหรียญทองคำ  3  ขนาด  ขนาดใหญ่ราคา  8  บาท   เรียกว่า  ทศ  ขนาดกลางราคา  4  บาท  เรียกว่า  พิศ และขนาดเล็กราคา  10  สลึง  เรียกว่า  พัดดึงส์ ซึ่งราชกาลที่ 4   ได้ใช้เหรียญทองจ่ายเบี้ยหวัดแก่ข้าราชการในปีที่รัฐขาดแคลนเหรียญเงินด้วย
                ครั้งงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนพรรษา  60  พรรษาใน พ.ศ. 2407  รัชกาลที่  4  โปรดเกล้า ฯ ให้ สร้างเหรียญ ทองคำและเงินที่ระลึก  เรียกว่า  “ เหรียญเฉลิมพระชันษาครบ  60  ปีบริบูรณ์ ”   ราษฏรทั่วไปเรียกกันว่า  เหรียญแต้เม้ง   เพ อพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ
               

1 ความคิดเห็น:

  1. YouTube, Gambling videos, and videos - Vimeo
    Youtube, Gambling videos, and videos. Find videos and mp3 juice follow people you trust on YouTube, video games videos, or video games that you can play on your phone or desktop.

    ตอบลบ