ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

เล่าความหลังเรื่องเก่าๆ เมื่อครั้งอดีต

ประวัติวัดโกเมศรัตนาราม

     
      ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

ประวัติวัดโกเมศรัตนาราม

ที่ตั้ง

               
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๑๓๔ หมู่ ๔  ถนนเทคโนโลยีปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ ๑๒๑๖๐     โทร.๐๒๕๘๑๘๖๔๔,  ๐๘-๙๖๔๕-๕๗๖๕  โทรสาร  ๐๒๕๘๑๘๖๔๔

ประวัติความเป็นมา

               
คุณโยมตวงรัตน์โกเมศ เป็นผู้ดำริที่จะสร้างวัดขึ้นที่บริเวณหมู่ ๔ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยได้กราบเรียนปรึกษากับเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เห็นชอบด้วย จึงมอบหมายให้พระธรรมเมธาจารย์ (อิ่ม อรินฺทโม) คณะ๒ วัดโสมนัสวิหาร เป็นผู้ควบคุมดูแลการสร้างวัดฝ่ายสงฆ์
เจ้าพระคุณพระธรรมเมธาจารย์ได้ทำการสำรวจตรวจดูสถานที่ที่จะสร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๗ ซึ่งเนื้อที่ทั้งหมดเป็นของคุณตวงรัตน์ โกเมศ จำนวน ๔๒ ไร่เศษ สมัยนั้นยังเป็นสถานที่ซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งนา ยังไม่มีทางเข้า-ออก จึงได้ทำการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของถิ่นทั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๔ และชาวบ้านในละแวกนั้น เพื่อขอที่ดินบางส่วนทำถนนเข้าวัด ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ได้ทำถนนเลียบครองเปรมประชาเข้าไป ถนนกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑,๓๐๐ เมตร เมื่อปี พ.. ๒๕๒๘ ใช้เวลา ๘ เดือน (ปัจจุบันเป็นด้านหลังของวัดทางทิศตะวันออก)
เจ้าพระคุณพระธรรมเมธาจารย์ ได้กำหนดการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๒.๓๐ น. โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) เป็นประธานในพิธี เพื่อสร้างเป็นวัดและและโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับให้เป็นที่ศึกษาศิลป์วิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมของพระภิกษุสามเณร
จากสถานที่ที่เป็นทุ่งกว้างและว่างเปล่านั้น พระธรรมเมธาจารย์ได้มอบให้คุณสนาน เทพณรงค์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ภายในบริเวณวัด โดยในขั้นต้นได้สร้างเพิงพักชั่วคราว เพื่อต้อนรับคณะคุณโยมตวงรัตน์ และญาติ ตลอดจนศิษย์คณะ ๒ วัดโสมนัสวิหาร ร่วมกันนำภัตตาหารมาจัดเลี้ยงถวายแด่พระภิกษุสามเณร และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ร่วมกันปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพและต้นไม้อื่นๆ ที่คันคูรอบบริเวณของวัด เป็นที่โดดเด่น
วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๒๙ ได้เริ่มก่อสร้างหอสวดมนต์ โดยได้ตั้งชื่อว่า ศาลาสวาสดิ์โกเมศ เพื่อเป็นที่ระลึกและตามความประสงค์ของเจ้าภาพผู้สร้างถวาย ศาลาสวาสดิ์โกเมศ เป็นอาควร ๒ ชั้น มีกุฎิ ๕ หลังทรงไทยคล้ายคุ้มขุนแผน ขนาดกว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๒๙ เมตร ชั้นบนหอกลางใช้สำหรับสวดมนต์ไหว้พระและทำสังฆกรรม ชั้นล่างใช้เป็นห้องเรียนชั่วคราวของพระภิกษุสามเณรนักเรียน
วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๙ พระธรรมเมธาจารย์ได้ส่งพระมหาโนช มาจำพรรษาที่วัด พร้อมกับศิษย์ ๒ คน และแม่ครัว ๑ คน
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ได้เริ่มสร้างอาคารหอพักพระภิกษุสามเณรนักเรียน โดยได้ตั้งชื่อว่า อาคารเล็กโกเมศ  เป็นอาคาร ๒ ชั้น มีขนาดความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๓๒ เมตร มีมุขยื่นออกทางทิศตะวันออกใช้เป็นห้องพักของพระอาจารย์ และสามารถรองรับพระภิกษุสามเณรนักเรียนได้ประมาณ ๑๒๐ รูป
ต่อจากนั้นได้เริ่มก่อสร้างหอฉันขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๔ เมตร รองรับพระภิกษุสามเณรนักเรียนได้ ประมาณ ๕๐ รูป
วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๐ ได้ทำการจัดฉลองศาลาสวาสดิ์ โกเมศ โดยได้นิมนต์พระเทพสุเมธมุนี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี () วัดจันทน์กะพ้อ,พระครูปทุมธรรมรัตน์ เจ้าคณะตำบลเชียงรากน้อย () และพระเถรานุเถระมาร่วมทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และฉันภัตตาหารเพล
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๐ เป็นวันเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม แผนกสามัญศึกษา แผนกธรรม และบาลี ตามลำดับ โดยใช้ศาลาสวาสดิ์ โกเมศเป็นห้องเรียนชั่วคราว ทำพิธีปฐมนิเทศขึ้นครั้งแรก มีสามเณรนักเรียนทั้งหมด ๔๙ รูป จากมหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากสมเด็จพระญาณวโรดม                 วัดเทพศิรินทราวาส มาเป็นประธานในพิธี คุณโยมตวงรัตน์ ได้ทำพิธีมอบถวายอาคารหอพัก และนำสามเณรทั้ง ๔๙ รูปเข้าพัก
เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๐ ได้เริ่มก่อสร้างโรงครัว เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร
                วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๓๓ เป็นวันทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน ๓ ชั้น ได้ตั้งชื่ออาคารว่า ตึกสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) ๘๔ ปี
ชั้น ๑ ใช้เป็นหอฉันภัตตาหารสำหรับพระอาจารย์และพระภิกษุสามเณรนักเรียน ห้องรับรองพระ
เถรานุเถระ ห้องพยาบาลและห้องปฏิบัติงานของพระอาจารย์
                ชั้น ๒ ใช้เป็นห้องสมุด ห้องโสตทัศน์ ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องพักพระอาจารย์
                ชั้น ๓ ใช้เป็นห้องเรียน ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องพักครู คณาจารย์
ถือได้ว่าเป็นอาคารอเนกประสงค์ในการใช้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนที่มีความพร้อมและความสมบูรณ์ค่อข้างสูง
วันที่ ๒๒ มกราคม พ.. ๒๕๓๔ ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถสองชั้น ขนาดความกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร โดยพระเดชพระคุณสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) เป็นประธานในพิธี พร้อมกันนี้ก็ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) ๘๔ ปี ในวันเดียวกัน
ในขณะที่ทำการก่อสร้างอาคารต่างๆ ภายในวัด พระธรรมเมธาจารย์ก็ได้ทำการติดต่อกรมการศาสนา ขอตั้งวัด และขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และรับโอนที่ดินของคุณโยมตวงรัตน์ โกเมศ มาเป็นชื่อ วัดโกเมศรัตนาราม) พร้อมกับได้ทำการวัดที่ดินโดยเจ้าหน้าที่ของอำเภอสามโคกเป็นผู้ดำเนินการจนเสร็จการ
อุโบสถวัดโกเมศรัตนาราม สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ..๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๑๐ ง ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐
ต่อมาได้สร้างหอระฆังในบริเวณสระน้ำเล็ก ตั้งอยู่ทิศตะวันตก อันเป็นด้านหน้าของวัดในปัจจุบัน                  คุณโยมตวงรัตน์ โกเมศ และน้องชาย คือ ศาตราจารย์ ดร.พิชัย รัชตะนาวิน ได้ติดต่อซื้อระฆังจากประเทศเยอรมันนี   เมืองบรีเมนส์ ระฆังใบนี้มีน้ำหนัก ๑,๓๔๖ กิโลกรัม สร้างชื่อ ตวงรัตน์ โกเมศ โดยช่างชาวเยอรมัน มีโทนเสียงเอฟ และได้สร้างเสร็จในปีเดียวกันนั้นเอง

ตลอดระยะเวลา ๒๐ ปีกว่าที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม ได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้ผลิตพระภิกษุสามเณรนักเรียนให้มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมมาแล้วเป็นจำนวนมาก

ภายใต้คำขวัญของโรงเรียนที่ว่า บำเพ็ญประโยชน์ มีวินัย ใฝ่คุณธรรมและมีปรัชญาประจำโรงเรียนว่า    
 ปญฺา  นรานํ  รตนํ  แปลว่า ปัญญาเป็นรตนะของนรชน
ปัจจุบันโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนารามตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๑๓๔ หมู่ ๕ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และยังคงรับสมัครพระภิกษุสามเณรนักเรียนเข้าทำการศึกษาแผนกสามัญในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ แผนกธรรมมีนักธรรมชั้นตรี-เอก และแผนกบาลีเริ่มตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ขึ้นไปถึงชั้นเปรียญธรรม    ประโยค
นโยบายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนารามมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างพัฒนาบุคคลากรหรือศาสนทายาทให้มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในวิชาการทางโลกและทางธรรมโดยมีหลักธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อเป็นกำลังของต่อพระพุทธศาสนาและต่อสังคมประเทศชาติสืบต่อไปฯ.

วัตถุประสงค์

พระเดชพระคุณธรรมเมธาจารย์ได้วางวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนารามแห่งนี้ ไว้  ๕ ประการ คือ:
. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิชาการทางโลกและทางธรรมของพระภิกษุสามเณร
. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร
. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนวิชาการพระพุทธศาสนาของประชาชนผู้สนใจทั่วไป
. เพื่อเป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม
. เพื่อเป็นสถานศึกษาฝึกอบรมพระภิกษุผู้จะปฏิบัติศาสนกิจเป็นกำลังของพระศาสนาและสังคมต่อไป
               
                ในเบื้องต้นโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม แห่งนี้เป็นสาขาของมหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ชื่อว่า มหาวชิราลงกรราชวิทยาลัย (มวก.) ภายหลังได้แยกตัวออกมาจัดการเรียนการสอนเอง ทั้งงบประมาณทุกอย่างทางวัดได้รับความอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมเมธาจารย์ (อิ่ม อรินฺทโม) เป็นประธานอุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ นอกจากนี้ทางวัดก็ได้อาศัยคณะญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินบำรุงวัดโดยมีคุณโยมอุบาสิกาตวงรัตน์ โกเมศ เป็นประธานอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส ซึ่งได้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการก่อสร้างอาคารที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม อาคารเรียนของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างมากมาย ทำให้วัดโกเมศรัตนาราม มีความพร้อมทุกๆ ด้านในการเป็นสถานศึกษาวิชาการความรู้ทางพระพุทธศาสนาและวิชาการทางโลก ปัจจุบันวัดโกเมศรัตนาราม มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นทั้งในด้านที่พัก การฉัน ความเป็นอยู่ต่างๆ ตลอดจนการคมนาคมก็สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะมีถนนตัดผ่านสายหลักๆ เป็นจำนวนมากและการจราจรก็ไม่ติดขัด ทั้งบรรยากาศสถานที่ตั้งของวัดนั้นก็ถือได้ว่า เหมาะสมสำหรับการเป็นวัดซึ่งเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้จึงถือได้ว่า วัดโกเมศรัตนาราม มีความพร้อมเกือบจะทุกๆ ด้าน
               
จึงได้เปิดรับสมัครกุลบุตรผู้สนใจในการบวชเรียน สมัครเป็นนักเรียนที่วัดเพิ่มเติม ทั้งในทางโลก คือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (.-) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (.-) ทางธรรม คือ นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก และวิชาภาษาบาลี อันเป็นวิชาการที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา  เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นบาลีไวยากรณ์ถึงชั้นเปรียญธรรม     ประโยค
               

กระบวนการจัดการเรียนการสอน

ในปีการศึกษา  ๒๕๕๓  นี้  มีนักเรียนมาเข้ารับการศึกษาเล่าเรียน  จำนวน  ๑๑๒  รูป
                โดยมี พระอาจารย์เทียนชัย  ชยทีโป เป็นผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้จัดการโรงเรียน และมี          พระมหาศิลปิน  สิปฺปสมฺปนโน  เป็นครูใหญ่ของโรงเรียน มีครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่       ๑๕  รูป/คน  ได้จัดการศึกษาดังต่อไปนี้
               
. จัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ได้แก่ การเรียนนักธรรม และภาษาบาลี ซึ่งเป็นหลักสูตรโดยตรงสำหรับพระภิกษุสามเณร และเป็นรายวิชาบังคับแกนในการเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยโรงเรียนจัดการเรียนการสอนในภาคเช้า ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐๑๐.๓๐ น.  และภาคค่ำตั้งแต่เวลา  ๑๙.๓๐   ๒๐.๓๐ ใช้เวลาเรียนวันละ ๓ คาบ สัปดาห์ละ ๑๕ คาบ และจัดอบรมพิเศษก่อนสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรของคณะสงฆ์ไทย นักเรียนสามารถสอบได้ธรรมสนามหลวงและบาลีสนามหลวงทุกปีเสมอมา
               
. จัดการศึกษาหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดทำการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคบ่ายเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐๑๘.๐๐ น   


พระอุโบสถ


หอระฆัง


อาคารเรียน


อาคารที่พัก


    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น