ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

แป้งร่ำน้ำอบ

แป้งร่ำน้ำอบ
                แต่เดิมผู้คนนิยมใช้แป้งร่ำผสมกับน้ำอบไทยประพรมตามใบหน้าและร่างกาย   ช่วยให้รู้สึกหอมสดชื่น   สบายตัว   สรรพคุณอีกอย่างคือสามารถลดอาการผื่นคันได้เป็นอย่างดีเพราะมีส่วนผสมของยาแผนไทยแทบทั้งสิ้น   นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยยังนิยมใช้แป้งร่ำเจิมสิ่งของมีค่าต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อีกด้วย
                กว่าจะมาเป็นแป้งร่ำแต่ละก้อนได้ต้องผ่านกระบวนการมากมายหลายหลาก   ร่ำแป้งวิธีการอบเครื่องหอมอย่างหนึ่งของไทย   เรียกว่า   การอบร่ำ   เมื่อนำแป้งหินป่นละเอียดมาอบในเครื่องอบร่ำซึ่งประกอบด้วย   กำยาน   ผิวมะกรูด   น้ำตาลทรายแดง   น้ำตาลทรายขาวและน้ำมันจันทน์   เราจึงเรียกแป้งนี้ได้ว่า  แป้งร่ำ   หากแต่กรรมวิธียังไม่จบเพียงเท่านี้เพื่อความหอมละมุนควรเติมน้ำลอยดอกไม้หรือน้ำอบไทยลงไปบดผสม   เมื่อเหลวดีแล้วหยอดแป้งร่ำลงบนใบตองให้เป็นก้อนเล็กๆ   เรียงไปจนทั่วแผ่น   ผึ่งไว้ในร่มจนแห้งสนิท   จากนั้นเก็บใส่โถปิดฝาอบไว้ให้ความหอมติดทนนานยามจะใช้   ก็นำออกมาทีละก้อน   ผสมกับน้ำอบไทยอีกนิดก็หอมฟุ้งได้ตลอดวัน

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

เล่าเรื่อง...แป้งร่ำน้ำอบ

แป้งร่ำน้ำอบ
                แต่เดิมผู้คนนิยมใช้แป้งร่ำผสมกับน้ำอบไทยประพรมตามใบหน้าและร่างกาย   ช่วยให้รู้สึกหอมสดชื่น   สบายตัว   สรรพคุณอีกอย่างคือสามารถลดอาการผื่นคันได้เป็นอย่างดีเพราะมีส่วนผสมของยาแผนไทยแทบทั้งสิ้น   นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยยังนิยมใช้แป้งร่ำเจิมสิ่งของมีค่าต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อีกด้วย
                กว่าจะมาเป็นแป้งร่ำแต่ละก้อนได้ต้องผ่านกระบวนการมากมายหลายหลาก   ร่ำแป้งวิธีการอบเครื่องหอมอย่างหนึ่งของไทย   เรียกว่า   การอบร่ำ   เมื่อนำแป้งหินป่นละเอียดมาอบในเครื่องอบร่ำซึ่งประกอบด้วย   กำยาน   ผิวมะกรูด   น้ำตาลทรายแดง   น้ำตาลทรายขาวและน้ำมันจันทน์   เราจึงเรียกแป้งนี้ได้ว่า  แป้งร่ำ   หากแต่กรรมวิธียังไม่จบเพียงเท่านี้เพื่อความหอมละมุนควรเติมน้ำลอยดอกไม้หรือน้ำอบไทยลงไปบดผสม   เมื่อเหลวดีแล้วหยอดแป้งร่ำลงบนใบตองให้เป็นก้อนเล็กๆ   เรียงไปจนทั่วแผ่น   ผึ่งไว้ในร่มจนแห้งสนิท   จากนั้นเก็บใส่โถปิดฝาอบไว้ให้ความหอมติดทนนานยามจะใช้   ก็นำออกมาทีละก้อน   ผสมกับน้ำอบไทยอีกนิดก็หอมฟุ้งได้ตลอดวัน

เล่าความหลังเรื่องเก่าๆ เมื่อครั้งอดีต

ประวัติวัดโกเมศรัตนาราม

     
      ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

ประวัติวัดโกเมศรัตนาราม

ที่ตั้ง

               
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๑๓๔ หมู่ ๔  ถนนเทคโนโลยีปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ ๑๒๑๖๐     โทร.๐๒๕๘๑๘๖๔๔,  ๐๘-๙๖๔๕-๕๗๖๕  โทรสาร  ๐๒๕๘๑๘๖๔๔

ประวัติความเป็นมา

               
คุณโยมตวงรัตน์โกเมศ เป็นผู้ดำริที่จะสร้างวัดขึ้นที่บริเวณหมู่ ๔ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยได้กราบเรียนปรึกษากับเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เห็นชอบด้วย จึงมอบหมายให้พระธรรมเมธาจารย์ (อิ่ม อรินฺทโม) คณะ๒ วัดโสมนัสวิหาร เป็นผู้ควบคุมดูแลการสร้างวัดฝ่ายสงฆ์
เจ้าพระคุณพระธรรมเมธาจารย์ได้ทำการสำรวจตรวจดูสถานที่ที่จะสร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๗ ซึ่งเนื้อที่ทั้งหมดเป็นของคุณตวงรัตน์ โกเมศ จำนวน ๔๒ ไร่เศษ สมัยนั้นยังเป็นสถานที่ซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งนา ยังไม่มีทางเข้า-ออก จึงได้ทำการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของถิ่นทั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๔ และชาวบ้านในละแวกนั้น เพื่อขอที่ดินบางส่วนทำถนนเข้าวัด ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ได้ทำถนนเลียบครองเปรมประชาเข้าไป ถนนกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑,๓๐๐ เมตร เมื่อปี พ.. ๒๕๒๘ ใช้เวลา ๘ เดือน (ปัจจุบันเป็นด้านหลังของวัดทางทิศตะวันออก)
เจ้าพระคุณพระธรรมเมธาจารย์ ได้กำหนดการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๒.๓๐ น. โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) เป็นประธานในพิธี เพื่อสร้างเป็นวัดและและโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับให้เป็นที่ศึกษาศิลป์วิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมของพระภิกษุสามเณร
จากสถานที่ที่เป็นทุ่งกว้างและว่างเปล่านั้น พระธรรมเมธาจารย์ได้มอบให้คุณสนาน เทพณรงค์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ภายในบริเวณวัด โดยในขั้นต้นได้สร้างเพิงพักชั่วคราว เพื่อต้อนรับคณะคุณโยมตวงรัตน์ และญาติ ตลอดจนศิษย์คณะ ๒ วัดโสมนัสวิหาร ร่วมกันนำภัตตาหารมาจัดเลี้ยงถวายแด่พระภิกษุสามเณร และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ร่วมกันปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพและต้นไม้อื่นๆ ที่คันคูรอบบริเวณของวัด เป็นที่โดดเด่น
วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๒๙ ได้เริ่มก่อสร้างหอสวดมนต์ โดยได้ตั้งชื่อว่า ศาลาสวาสดิ์โกเมศ เพื่อเป็นที่ระลึกและตามความประสงค์ของเจ้าภาพผู้สร้างถวาย ศาลาสวาสดิ์โกเมศ เป็นอาควร ๒ ชั้น มีกุฎิ ๕ หลังทรงไทยคล้ายคุ้มขุนแผน ขนาดกว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๒๙ เมตร ชั้นบนหอกลางใช้สำหรับสวดมนต์ไหว้พระและทำสังฆกรรม ชั้นล่างใช้เป็นห้องเรียนชั่วคราวของพระภิกษุสามเณรนักเรียน
วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๙ พระธรรมเมธาจารย์ได้ส่งพระมหาโนช มาจำพรรษาที่วัด พร้อมกับศิษย์ ๒ คน และแม่ครัว ๑ คน
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ได้เริ่มสร้างอาคารหอพักพระภิกษุสามเณรนักเรียน โดยได้ตั้งชื่อว่า อาคารเล็กโกเมศ  เป็นอาคาร ๒ ชั้น มีขนาดความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๓๒ เมตร มีมุขยื่นออกทางทิศตะวันออกใช้เป็นห้องพักของพระอาจารย์ และสามารถรองรับพระภิกษุสามเณรนักเรียนได้ประมาณ ๑๒๐ รูป
ต่อจากนั้นได้เริ่มก่อสร้างหอฉันขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๔ เมตร รองรับพระภิกษุสามเณรนักเรียนได้ ประมาณ ๕๐ รูป
วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๐ ได้ทำการจัดฉลองศาลาสวาสดิ์ โกเมศ โดยได้นิมนต์พระเทพสุเมธมุนี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี () วัดจันทน์กะพ้อ,พระครูปทุมธรรมรัตน์ เจ้าคณะตำบลเชียงรากน้อย () และพระเถรานุเถระมาร่วมทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และฉันภัตตาหารเพล
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๐ เป็นวันเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม แผนกสามัญศึกษา แผนกธรรม และบาลี ตามลำดับ โดยใช้ศาลาสวาสดิ์ โกเมศเป็นห้องเรียนชั่วคราว ทำพิธีปฐมนิเทศขึ้นครั้งแรก มีสามเณรนักเรียนทั้งหมด ๔๙ รูป จากมหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากสมเด็จพระญาณวโรดม                 วัดเทพศิรินทราวาส มาเป็นประธานในพิธี คุณโยมตวงรัตน์ ได้ทำพิธีมอบถวายอาคารหอพัก และนำสามเณรทั้ง ๔๙ รูปเข้าพัก
เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๐ ได้เริ่มก่อสร้างโรงครัว เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร
                วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๓๓ เป็นวันทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน ๓ ชั้น ได้ตั้งชื่ออาคารว่า ตึกสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) ๘๔ ปี
ชั้น ๑ ใช้เป็นหอฉันภัตตาหารสำหรับพระอาจารย์และพระภิกษุสามเณรนักเรียน ห้องรับรองพระ
เถรานุเถระ ห้องพยาบาลและห้องปฏิบัติงานของพระอาจารย์
                ชั้น ๒ ใช้เป็นห้องสมุด ห้องโสตทัศน์ ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องพักพระอาจารย์
                ชั้น ๓ ใช้เป็นห้องเรียน ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องพักครู คณาจารย์
ถือได้ว่าเป็นอาคารอเนกประสงค์ในการใช้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนที่มีความพร้อมและความสมบูรณ์ค่อข้างสูง
วันที่ ๒๒ มกราคม พ.. ๒๕๓๔ ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถสองชั้น ขนาดความกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร โดยพระเดชพระคุณสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) เป็นประธานในพิธี พร้อมกันนี้ก็ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร) ๘๔ ปี ในวันเดียวกัน
ในขณะที่ทำการก่อสร้างอาคารต่างๆ ภายในวัด พระธรรมเมธาจารย์ก็ได้ทำการติดต่อกรมการศาสนา ขอตั้งวัด และขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และรับโอนที่ดินของคุณโยมตวงรัตน์ โกเมศ มาเป็นชื่อ วัดโกเมศรัตนาราม) พร้อมกับได้ทำการวัดที่ดินโดยเจ้าหน้าที่ของอำเภอสามโคกเป็นผู้ดำเนินการจนเสร็จการ
อุโบสถวัดโกเมศรัตนาราม สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ..๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๑๐ ง ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐
ต่อมาได้สร้างหอระฆังในบริเวณสระน้ำเล็ก ตั้งอยู่ทิศตะวันตก อันเป็นด้านหน้าของวัดในปัจจุบัน                  คุณโยมตวงรัตน์ โกเมศ และน้องชาย คือ ศาตราจารย์ ดร.พิชัย รัชตะนาวิน ได้ติดต่อซื้อระฆังจากประเทศเยอรมันนี   เมืองบรีเมนส์ ระฆังใบนี้มีน้ำหนัก ๑,๓๔๖ กิโลกรัม สร้างชื่อ ตวงรัตน์ โกเมศ โดยช่างชาวเยอรมัน มีโทนเสียงเอฟ และได้สร้างเสร็จในปีเดียวกันนั้นเอง

ตลอดระยะเวลา ๒๐ ปีกว่าที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม ได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้ผลิตพระภิกษุสามเณรนักเรียนให้มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมมาแล้วเป็นจำนวนมาก

ภายใต้คำขวัญของโรงเรียนที่ว่า บำเพ็ญประโยชน์ มีวินัย ใฝ่คุณธรรมและมีปรัชญาประจำโรงเรียนว่า    
 ปญฺา  นรานํ  รตนํ  แปลว่า ปัญญาเป็นรตนะของนรชน
ปัจจุบันโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนารามตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๑๓๔ หมู่ ๕ ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และยังคงรับสมัครพระภิกษุสามเณรนักเรียนเข้าทำการศึกษาแผนกสามัญในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ แผนกธรรมมีนักธรรมชั้นตรี-เอก และแผนกบาลีเริ่มตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ขึ้นไปถึงชั้นเปรียญธรรม    ประโยค
นโยบายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนารามมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างพัฒนาบุคคลากรหรือศาสนทายาทให้มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในวิชาการทางโลกและทางธรรมโดยมีหลักธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อเป็นกำลังของต่อพระพุทธศาสนาและต่อสังคมประเทศชาติสืบต่อไปฯ.

วัตถุประสงค์

พระเดชพระคุณธรรมเมธาจารย์ได้วางวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนารามแห่งนี้ ไว้  ๕ ประการ คือ:
. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิชาการทางโลกและทางธรรมของพระภิกษุสามเณร
. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร
. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนวิชาการพระพุทธศาสนาของประชาชนผู้สนใจทั่วไป
. เพื่อเป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม
. เพื่อเป็นสถานศึกษาฝึกอบรมพระภิกษุผู้จะปฏิบัติศาสนกิจเป็นกำลังของพระศาสนาและสังคมต่อไป
               
                ในเบื้องต้นโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโกเมศรัตนาราม แห่งนี้เป็นสาขาของมหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ชื่อว่า มหาวชิราลงกรราชวิทยาลัย (มวก.) ภายหลังได้แยกตัวออกมาจัดการเรียนการสอนเอง ทั้งงบประมาณทุกอย่างทางวัดได้รับความอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมเมธาจารย์ (อิ่ม อรินฺทโม) เป็นประธานอุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ นอกจากนี้ทางวัดก็ได้อาศัยคณะญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินบำรุงวัดโดยมีคุณโยมอุบาสิกาตวงรัตน์ โกเมศ เป็นประธานอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส ซึ่งได้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการก่อสร้างอาคารที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม อาคารเรียนของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างมากมาย ทำให้วัดโกเมศรัตนาราม มีความพร้อมทุกๆ ด้านในการเป็นสถานศึกษาวิชาการความรู้ทางพระพุทธศาสนาและวิชาการทางโลก ปัจจุบันวัดโกเมศรัตนาราม มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นทั้งในด้านที่พัก การฉัน ความเป็นอยู่ต่างๆ ตลอดจนการคมนาคมก็สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะมีถนนตัดผ่านสายหลักๆ เป็นจำนวนมากและการจราจรก็ไม่ติดขัด ทั้งบรรยากาศสถานที่ตั้งของวัดนั้นก็ถือได้ว่า เหมาะสมสำหรับการเป็นวัดซึ่งเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้จึงถือได้ว่า วัดโกเมศรัตนาราม มีความพร้อมเกือบจะทุกๆ ด้าน
               
จึงได้เปิดรับสมัครกุลบุตรผู้สนใจในการบวชเรียน สมัครเป็นนักเรียนที่วัดเพิ่มเติม ทั้งในทางโลก คือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (.-) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (.-) ทางธรรม คือ นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก และวิชาภาษาบาลี อันเป็นวิชาการที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา  เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นบาลีไวยากรณ์ถึงชั้นเปรียญธรรม     ประโยค
               

กระบวนการจัดการเรียนการสอน

ในปีการศึกษา  ๒๕๕๓  นี้  มีนักเรียนมาเข้ารับการศึกษาเล่าเรียน  จำนวน  ๑๑๒  รูป
                โดยมี พระอาจารย์เทียนชัย  ชยทีโป เป็นผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้จัดการโรงเรียน และมี          พระมหาศิลปิน  สิปฺปสมฺปนโน  เป็นครูใหญ่ของโรงเรียน มีครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่       ๑๕  รูป/คน  ได้จัดการศึกษาดังต่อไปนี้
               
. จัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ได้แก่ การเรียนนักธรรม และภาษาบาลี ซึ่งเป็นหลักสูตรโดยตรงสำหรับพระภิกษุสามเณร และเป็นรายวิชาบังคับแกนในการเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยโรงเรียนจัดการเรียนการสอนในภาคเช้า ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐๑๐.๓๐ น.  และภาคค่ำตั้งแต่เวลา  ๑๙.๓๐   ๒๐.๓๐ ใช้เวลาเรียนวันละ ๓ คาบ สัปดาห์ละ ๑๕ คาบ และจัดอบรมพิเศษก่อนสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรของคณะสงฆ์ไทย นักเรียนสามารถสอบได้ธรรมสนามหลวงและบาลีสนามหลวงทุกปีเสมอมา
               
. จัดการศึกษาหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดทำการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคบ่ายเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐๑๘.๐๐ น   


พระอุโบสถ


หอระฆัง


อาคารเรียน


อาคารที่พัก


    

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้าวแช่

ข้าวแช่
                เมื่อเข้าสู่เดือนเมษายนของทุกปีสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยจะร้อนอบอ้าวมากที่สุด   ผู้คนในสมัยก่อนจึงมีวิธีคลายร้อนกันต่างๆ   นานาหากเป็นลูกเด็กเล็กแดงก็จะพากันไปกระโดน้ำตามคูคลองในละแวกบ้าน   ส่วนพวกผู้ใหญ่ใช้ดินสอพองละลายน้ำอบไทยประตามเนื้อตัวให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบาย   นอกจากนั้น   แม่ศรีเรือนทั้งหลายยังนิยมทำ  “ ข้าวแช่ ”  เตรียมไว้ให้คนในบ้านรับประทานกันให้ชื่นใจอีกด้วย
                กรรมวิธีการเตรียมข้าวที่ต้องหุงให้ได้เมล็ดขาวสวย   และน้ำสำหรับแช่ข้าวต้องมีกลิ่นหอมของดอกไม้ไทยและเทียนอบ   พร้อมด้วยกับข้าวที่เป็นเครื่อง   เคียงจำพวกกะปิทอด   เนื้อเค็มฝอย   ผัดผักกาดหวาน   หัวหอมทอด   พริกหยวกยัดไส้   และปลาหวานนั้นค่อนข้างจะยุ่งยากและพิถีพิถัน   อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยฝีมือการทำที่ประณีตและชำนาญ   จึงจะได้ชุดข้าวแช่ที่ดูน่ารับประทานและมีรสชาติอร่อย
                ดังนั้น   ข้าวแช่จึงไม่เพียงแต่จะเป็นอาหารที่ผู้คนนิยมรับประทานกันในหน้าร้อนเท่านั้น   แต่ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในแง่ของศิลปะการปรุงอาหาร   ที่บ่งบอกถึงเสน่ห์ของอาหารไทยเป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ตักเตือน

ตักเตือน
หรือผู้ใดจะเดินบนถ่านที่ลุกโพลง
                และไม่ให้เท้าของเขาถูกไฟลวกได้หรือ
เพราะจะจางหญิงเพศยาด้วยขนนปังก้อนเดียวก็ยังได้
                แต่หญิงเล่นชู้ล่าชีวิตประเสริฐของชายทีเดียว
ถ้าขโมยเข้าลัก   เพื่อบรรเทาความอยากเมื่อเขาหิว
                คนก็ดูหมิ่นขโมยนั้นมิใช่หรือ
เพราะความริษยากระทำให้คนเกี้ยวกราด
                ในวันที่เขาแก้แค้นเขจะไม่เพลามือ
เขาจะไม่รับค่าทำขวัญใดๆ
                ถึงเจ้าจะทวีของกำนัล   เขาก็ย่อมไม่สงบ

มีสี่สิ่งในแผ่นดินเล็กที่เล็กเหลือเกิน แต่มีปัญญามากเหลือล้น



มีสี่สิ่งในแผ่นดินเล็กที่เล็กเหลือเกิน แต่มีปัญญามากเหลือล้น
มด   เป็นประชากรที่ไม่แข็งแรง
                แต่มันยังเตรียมอาหารของมันไว้ในฤดูแล้ง
ตัวกระจงผา   เป็นประชากรที่ไม่มีกำลัง
                        แต่มันยังบ้านของมันในซอกหิน
ตั้กแตนไม่มีราชา
                แต่มันยังเดินขบวนเป็นแถว

ตุ๊กแกนั้น   เจ้าเอามือจับได้
                แต่มันยังอยู่ในพระราชวัง






ธงกฐิน

ธงกฐิน
หลังจากออกพรรษาในช่วงแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒  เป็นฤดูกาลถวายผ้ากฐิน   ตลอดระยะเวลา  ๑ เดือนนี้  วัดวาอารามจะเนืองแน่นไปด้วยอุบาสกอุบาสิกา และ ศรัทธาญาติโยมที่มาร่วมงานถวายผ้ากฐินเป็นประจำทุกปีเพราะการถวายกฐินถือเป็นงานบุญสำคัญที่จะกระทำได้เพียงปีละครั้ง
สัญญาลักษณ์ที่คุ้นตาในเทศกาลงานทอดกฐินอย่างหนึ่งคือเมื่อวัดใดได้รับกฐินแล้วจะมีธงจระเข้คาบดอกบัวแขวนเคียงคู่กับธงรูปนางเงือกในท่าพนมมือถือดอกบัว   ในทางพระพุทธศาสนายังไม่มีหลักฐานปรากฏถึงความหมายและที่มาที่ไปของธงนี้   นักปราชญ์ได้เปรียบเทียบและได้ให้ความหมายของธงสัญญาลักษณ์  ดังนี้
ธงกฐินรูปจระเข้คาบดอกบัว  หกมายถึง  ความโลภ  โดยปกติแล้วจระเข้เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ   ในบางช่วงจะขึ้นมานอนอ้าปากบนบกให้แมลงวันบินเข้ามาตอมอยู่ในปาก   เมื่อแมลงวันเข้าไปรวมกันหลายๆตัวเข้าจึงได้งับปากเอาแมลงวันเป็นอาหาร   ท่านเปรียบถึงเราที่มีความโลภ   มีมีความรู้สึกสำนึกชั่วดี   ความถูกต้อง  มีแต่จะเอาให้ได้ท่าเดียว   โดยมีคำนึงว่าที่ได้มานั้นสกปรกแปดเปื้อนด้วยความไม่ดีไม่งามหรืออกุศลหรือไม่   และไม่ใส่ใจว่าผู้อื่นจะได้รับผลอย่างไรจากการกระทำของตน   ดังนั้น   ท่านจึงเปรียบธงรูปจระเข้เหมือนกับความโลภ   ที่ทำให้คนกอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะมีช่องทางหรือโอกาส
ธงกฐินรูปกินรีหรือนางมัจฉาถือดอกบัว  หมายถึง  ความหลงหรือโมหะ   ซึ่งรูปร่างและศัพท์ที่ใช้เรียกก็มีความชัดเจนอยู่แล้ว   นั่นคือ  กินรีเป็นคนหรือสัตว์กันแน่ดูไม่ออกเพราะท่อนล่างเป็นปลา  ท่อนบนเป็นคน   คำว่า “ กินรี ”   มาจากภาษาบาลีว่า “ กินนรี ”  แต่ผ่านกระบวนการแปลงศัพท์  แปลว่า “ คนอะไร ”   หรือคนผู้สงสัย,ผู้ยังสงสัย หรือผู้ที่ค้นพบเห็นก็เกิดความสงสัย   คือคนที่ไม่เป็นตัวของตัวเองทั้งทางด้านความคิด   การกระทำหรือพฤติกรรม   เพราะฉะนั้นท่านจึงเปรียบกินนรีหรือกินรีเสมือนโมหะ   คือ  ความหลงหรือผู้หลง  ความลังเลสงสัย  นั่นเอง
เรื่องธงจระเข้มีตำนานที่แตกต่างกันไปอย่างน้อย  ๓ เรื่อง
เรื่องที่ ๑ในโบราณสมัยการเดินทางต้องอาศัยดวงดาว  เช่น  การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่างจะต้องอาศัยดาวจระเข้   เพราะดาวจระเข้จะขึ้นในเวลานั้น   การทอดกฐินมีภาระมากบางครั้งต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน   ฉะนั้น   การดูเวลาจึงต้องอาศัยดวงดาว   เมื่อดาวจระเข้ขึ้นก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี   ต่อมามีผู้คิดทำธงในงานกบิน  ในชั้นต้นคงทำทิวธงประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐินและบริเวณวัดภายหลังคงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐินจึงคิดทำธงรูปจระเข้เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
เรื่องที่    เล่าเป็นนิทานโบราณว่าในการแห่กฐินทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่งมีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงว่ายน้ำตามเรือไปด้วย   แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดแรงว่ายต่อไปไม่ไหว   จึงร้องบอกอุบาสกว่า   เหนื่อยนักแล้วไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองกุศลได้  หวานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้าเพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด   อุบาสกผู้นั้นจึงเขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัด   เป็นปฐมและสืบเนื่องมาจนบัดนี้
เรื่องที่ ๓  เรื่องเก่าแก่ตั้งแต่โบราณกับปู่โสมเฝ้าทรัพย์ในอดิตกาล   กล่าวถึงเศรษฐีขี้ตระหนี่   ตอนที่มีชีวิตอยู่หาแต่เงิน   เก็บแต่เงิน   โดยนำเงินใส่ไห  ใส่ตุ่มไปฝั่งไว้ที่ริมฝั่งน้ำ   แต่ไม่ทำบุญให้ทาน   ไม่ตักบาตร   ไม่ถวายสร้างกฏิ   วิหาร  โบสถ์  สะพาน   ไม่ช่วยทำทางเข้าวัด  เหล่านี้เป็นต้น   เมื่อตายไปด้วยความห่วงสมบัติจึงไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติอยู่แถวนั้น   นานเข้าก็มาฝันให้ญาติให้มาขุดเอาเงินไปทำบุญให้   จะทอดกฐินหรือผ้าป่าก็ได้   ญาติจึงนำเงินนั้นไปทอดกฐิน   สมัยก่อนเขาแห่กฐินทางเรือ   จระเข้ตัวนั้นจึงว่ายตามเรือตามกองกฐินไป   เมื่อทอดกฐินเสร็จ   ยาติก็อุทิศส่วนกุศลให้บอกว่านายนี้ที่ล่วงลับไป   บัดนี้เอาเงินมาทอดกฐินถวายให้พระแล้ว   จระเข้ก็โผหัวขึ้นมา   พอพระอนุโมธนาให้พรจบ   จระเข้ตัวนั้นก็มุดน้ำหายไป
ทุกวันนี้   ธงรูปจระเข้คาบดอกบัวจึงเป็นสัญญาลักษณ์ในการทอดกฐิน   หรือธงตะขาบก็มีตำนานคล้ายคลึงกัน   ต่างกันเพียงแต่เมื่อตายไปก็เกิดเป็นตะขาบคอยเฝ้าสมบัติเช่นกัน   ส่วนตำนานหรือนิทานพื้นบ้านที่เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับธงกฐินรูปนางมัจฉายังไม่มีปรากฏให้เห็นนอกจากธงกฐินรูปจระเข้และนางมัจฉาแล้ว   บางแห่งอาจใช้ธงเป็นรูปเต่า  ตะขาบ หรือ แลงป่องก็ได้
จระเข้คาบดอกบัว

กินรีหรือนางมัจฉาถือดอกบัว





               
ตะขาบ



เต่า


โรงละครชาติแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร

โรงละครชาติแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร
                ถ้าลองศึกษากันให้ดีจะพบว่า   การบริหารชาติ   บ้านเมืองของผู้คนยุคก่อนๆนั้น  มีความลึกซึ้งยิ่งนัก   มีเรื่องเล่าพอฟังเพลินๆ  เกี่ยวกับโรงละครแห่งชาติของกรุงเทพมหานคร
                ราวปี  พ.ศ. ๒๔๗๗  ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ประเทศสยามถูกภัยทางการเมืองคุกคาม   โดยระบบการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ   หลวงวิจิตวาทการขณะนั้นได้ย้ายจากกระทรวงการต่างประเทศรับตำแหน่งอธิการบดีกรมศิลปกรเป็นคนแรก   เห็นว่านโยบายประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์คับขันได้ คือ  “ ชาตินิยม”  เพราะการปลุกใจให้คนไทยรักชาติ   จะสามารถสร้างความรัก  สามัคคี  และเสียสละ  ให้เกิดขึ้นได้ในหมู่ชนชาติ
                ท่านได้เล็งเห็นว่า  สื่อที่จะเข้าถึงประชาชนได้ดีที่สุด  ก็คือละครเพลง  เมื่อได้ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางค์ขึ้น   ท่านก็ได้ริเริ่มฝึกให้นักเรียนแสดงละครและร้องเพลงปลุกใจรักชาติ   แต่เมื่อพร้อมที่จะแสดงแล้ว   ก็ปรากฏว่าไม่มีโรงละครที่จะแดง   หลวงวิจิตรฯ จึงได้ของบประมาณสำหรับสร้างโรงละคร   ซึ่งท่านเขียนเล่าไว้ว่า   นอกจากจะไม่ได้แล้ว  ยังถูกเราะเย้ยหยันในที่ประชุมอธิการงบประมาณ   ถึงกับระบายความขมขื่นไว้ว่า   ท่านอยู่ในสภาพที่ยิ่งกว่าขอทาน   เพราะขอทานนั้น   เมื่อขอแล้วไม่ได้   ก็มิได้ถูกเย้ยหยันเหมือนท่าน   ท่านจึงมุมานะหาทางทำเอง   โยตั้งเสาไม้ไผ่ขึงเต็นท์เป็นหลังคา   ขอยืมเก้าอี้จากกระทรวงวัง   และเริ่มเปิดการแสดงละครปลุกใจรักชาติเรื่องแรก คือ “เลือดสุพรรณ” เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙   ได้รับการตอบรับจากปวงชนอย่างหนาแน่น
                ครั้งหนึ่ง   ท่านเจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศร์   ซึ่งว่าการกระทรวงการคลัง   ได้ชมละครและรับว่าจะจัดหางบประมาณก่อสร้างโรงละครให้หลวงวิจิตรฯ   เขียนไว้ว่า   ท่านดีใจนอนไม่หลับ   เพราะความฝันของท่านที่จะให้บ้านเมืองเรามีโรงละครแห่งชาติ   เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม   ดังเช่น  นานาอารยประเทศกำลังจะเป็นความจริง   แต่เมื่อท่านไปพบท่านรัฐมนตรีคลัง   ก็ปรากฏว่าหางบประมารได้เพียง ๖,๕๐๐ บาท   ซึ่งก็ทำได้เพียงแต่ให้โรงละครของท่านมีเสาไม้และมุงหลังคาสันกะสี  แล้วเงินก็หมด
                แต่อุปสรรคไม่เคยทำให้ท่านย่อท้อ   เพราะละครเรื่อง “เลือดสุพรรณ”ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากมาย   ผู้คนถึงกับนำปิ่นโตมานั่งรับประทานอาหารกันที่สนาม   เพื่อคอยเบียดเสียกันซื่อบัตรเข้าชมละคร   ในการแสดงคราวหนึ่ง   เมื่อที่นั่งเต็มหมด  ผู้ชมถึงกับพังประตูเข้าไปยืนดูการแสดง
                “เลือดสุพรรณ”ทำให้โรงละครแห่งชาติแห่งแรกเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เรียกชื่อในสมัยนั้นว่า “หอประชุมศิลปกร”   หลังจากนั้น   ชาวกรุงเทพฯก็ได้ชมละครอีก ๙ เรื่อง เช่น  พระเจ้ากรุงธนฯ  ราชธน  เจ้าหญิงแสนหวี  น่านเจ้า  และมหาเทวี  เป็นต้น  ล้วนเป็นละครอิงประวัติศาสตร์ที่ต้องการเตือนให้ชาวกรุงรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระกษัตราธิราชเจ้า   และนักรบผู้กล้าในอดีตที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อรักแผ่นดินให้เป็น  “ไทย” หลวงวิจิตรฯ  เคยคิดว่าโรงละครแห่งนี้คงจะรับใช้ราชการได้ราว ๕ ปี  แต่ปรากฏว่าได้มีอายุยืนยาวมากกว่า ๒๐ ปี   จนเกิดเพลิงไหม้
                อย่างไรก็ตาม  ใน พ.ศ. ๒๕๐๓   ท่านได้ของบประมาณจากรัฐบาลเพื่อก่อสร้างโรงละครแห่งชาติขึ้นใหม่   เป็นศรีสง่าแก่กรุงเทพมหานครอยุ่ในปัจจุบัน   ทำหน้าที่เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของบ้านเมืองเราต่อไปโดยมิให้สูญหายไปกับกาลเวลา

มาลัย

บรรพบุรุษของไทยเรา มีชื่อเสียงในงานด้านศิลปะการประดิษฐ์อย่างมากมาย  โดยเฉพาะการประดิษฐ์ตกแต่งพวงดอกไม้  ใบไม้  ผลไม้  และวัสดุอื่น ๆ  เป็นที่ขึ้นชื่อมานานแต่โบราณกาลแล้ว
                 ในสมัยรัตนโกสินทร์ทุกรัชกาล  งานฝีมือด้านการประดิษฐ์ดอกไม้ เป็นที่นิยมนำมาประดิษฐ์ในงานต่าง ๆ แทบทุกงาน โดยเฉพาะงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมการทำดอกไม้เป็นอย่างยิ่ง   ไม่ว่าจะมีงานพระราชพิธีใด ๆ  เจ้านายฝ่ายในจะต้องประกวดกันจัดแต่งดอกไม้มาถวายให้ทรงใช้ในงานนั้น    เสมอ  สมเด็จพระพันปีหลวง ได้ทรงคิดร้อยมาลัยด้วยดอกไม้ต่างๆ และใช้ใบไม้แทรกนำ ทำให้มีลวดลายต่าง ๆ กันอย่างงดงาม และพลิกแพลงทำรูปต่าง ๆ กัน ในงานพระศพสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินมาตา ซึ่งเป็นพระมารดาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี    พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระองค์นี้ พระบรมศพประดิษฐานอยู่   ณ วังสะพานถ่าน (คือตลาดบำเพ็ญบุญเวลานี้)   สมเด็จพระพันปีหลวงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ท้าววรคณานันท์ (ม.ร.ว. ปั้ม มาลากุล)  จัดทำมาลัยไปประดับพระศพตลอดงานนี้ มาลัยที่ตกแต่งเปลี่ยนสี  เปลี่ยนรูป  เปลี่ยนแบบเรื่อย ๆ มา   จึงนับได้ว่าตั้งแต่บัดนั้นการร้อยมาลัยได้มีการวิวัฒนาการก้าวหน้ากว่าเดิมเป็นต้นมาหลายรูปแบบ  และในระหว่างนั้น ท่านเจ้าคุณประยูรวงศ์ ก็ได้จัดทำมาลัยครุยขึ้นมา  ท้าววรคณานันท์เป็นผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นเจ้าของมาลัยงามหลายแบบและความรู้ความชำนาญในเรื่องร้อยมาลัยนี้ก็ได้สืบต่อมาจนถึง  ม.ล. ป้อง  มาลากุล   ผู้ซึ่งมีความสามารถในเรื่องการทำดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง
มาลัย คือดอกไม้แบบไทยที่ประยุกต์ขึ้น   โยการนำดอกไม้สดใบไม้  และส่วนต่างๆ  ของดอกไม้มาเรียงร้อยเข้าด้วยเป้นพวงหลากหลายรูปแบบ   ทั้งนี้เนื่องเพราะเมืองไทยเป็นเมืองที่มีดอกไม้ขนาดเล็กจิ๋วมากมาย   ทั้งดอกมะลิ  ดอกพุทธชาด  ดอกพุด  ดอกบานไม่รู้โรย  ดอกรัก  ฯลฯ   ภูมิปัญญาปู่ย่าตายายในอดีตจึงคิดดัดแปลงให้ดอกไม้เหล่านั้นเอื้อประโยชน์แก่คนไทยมากที่สุด   โดยร้อยเป็นมาลัยบูชาพระ  คล้องคอบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน  คล้องมือ  ใช้เป็นของชำร่วยหรือบูชาครูช่างสาขาต่างๆ
                        หนึ่งพวงของมาลัยประกอบไปด้วย  ตัวมาลัย  ส่วนใหญ่ใช้ดอกมะลิ  ดอกพุด  ใบแก้ว  หรือกลีบกุหลาบ  ร้อยสลับกันไปเป็นตัวมาลัย  อุบะ คือ ส่วนที่ห้อยชายลงมาประดับพวงมาลัยให้สวยงาม   นิยมใช้ดอกรักและดอกบานไม่รู้โรย   ซีกเป็นมาลัยครึ่งวงกลมที่ใช้ผูกรัดรอยต่อระหว่างตัวมาลัยกับอุบะ  และริบบิ้น   ใช้สำหรับมาลัยบางประเภท  เช่นมาลัยคล้องคอ  มาลัยชำร่วย
                แต่เดิมมาการร้อยมาลัยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงไทย   โดยเฉพาะสตรีชาววัง   เพราะหากหญิงใดร้อยมาลัยไม่เป็นแล้วจะไม่ถือว่าเป็นสตรีที่มีความงามเพียบพร้อมสมเป็นเบญจกัลยาณี   ดังนั้นเมื่อเด็กหญิงเริ่มโตเป็นสาว   ย่ายายก็จะเริ่มฝึกให้ใช้เข้มร้อยมาลัย   สอนวิธีการคัด  เก็บ  และร้อยดอกไม้   รวมถึงเทคนิควีการที่จะร้อยออกมาให้สวยงามและดูดี   ลุกหลานชนชั้นสูงบางคนได้ฝึกฝนจากโรงเรียนการช่าง   สตรีสมัยก่อนที่มีหลักสูตรร้อยพวงมาลัยแบบพิสดาร   ทั้งนี้เพื่อใช้ในโอกาสและพิธีการต่างๆ   เมื่อการร้อยมาลัยถูกถ่ายทอดกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน   จึงมีมาลัยหลากหลายรูปแบบมากขึ้น  อาทิ  มาลัยกลม  มาลัยแบน  มาลัยซีก  มาลัยตุ้ม  มาลัยลี  มาลัยดอกไม้  มาลัยรูปสัตว์  เป็นต้น

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เล่าความหลังเรื่องเก่าๆเมื่อครั้งอดิต

การปฏิรูปเงินตรา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปฏิรูปเงินตรา
                คำว่า “ ปฏิรูป ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2542   ให้คำจำกัดความไว้ว่า     “ ปรับปรุงให้สมควร ”   ซึ่งเป็นคำที่สะท้อนให้ท่านผู้อานเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงระบบเงินตราไทยให้สมควรแก่เวลา     และสถานการณ์ในขณะนั้นอย่างไรบ้าง
                เงินตราที่ใช้ตอนต้นราชกาล  คือ  เงินพดด้วง   ต่อมาเมื่อ  พ.ศ. 2396     มีผู้ทำเงินพดด้วงปลอม     ทำให้ประชาชนเดือดร้อน     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้พิมพ์ “ หมาย ” เงินกระดาษชนิดแรกออกใช้   มี  3ชนิดราคาคือ  หมายราคาต่ำ   หมายราคากลาง   และหมายราคาสูง       ทำด้วยกระดาษสีขาว   พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกสีดำ     ประทับสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี     รูปพระแสง-จักร   และพระราชลัญจกรประจำพระองค์   รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ   แต่ประชาชนไม่นิยม   จึงเลิกใช้ไปในปีใดไม่มีการประกาศไว้แน่ชัด
                ในราชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว      ภัยสงครามระหว่างไทยกับพม่า  ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้หมดสิ้นไป     แตรกลับมีภัยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกเข้ามาแทนที่     ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     ทรงใช้พระวิจารณญาณในการที่จะรักษาพระราชอาราเขตให้รอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมตะวันตก     ที่กำลังแผ่ขยายมายังประเทศในแถบอุษาอคเนย์      พระองค์จึงต้องทรงทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับประเทศต่างๆ     โดยเริ่มทำกับอังกฤษเป็นประเทศแรกในพ.ศ.2398   รู้จักกันในนาม “ สนธิสัญญาเบาริง ”และต่อมาได้ทำสัญญากับนาๆประเทศ   คือ   ฝรั่งเศส   สหรัฐอเมริกา   เดนมาร์ก   โปรตุเกส   เนเธอร์แลนด์   และปรัสเซีย   ตามลำดับ   เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษ     หลังจากทำสนธิสัญญาเบาริงเพียง 1 ปี   การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศก็เจริญยิ่งขึ้น     พ่อค้าได้นำเงินเหรียญต่างประเทศ   อาทิ   เหรียญเม็กซิโก   เหรียญฮอลันดา   เป็นต้น   มาใช้ซื่อสินค้าในกรุงเทพมหานคร   แต่ไม่มีผู้ใดรับเงินเหรียญไว้เพราะไม่เคยใช้กันมาก่อน   และไม่เชื่อถือค่าของเงิน   ทำให้พ่อค้าต้องนำเงินเหรียญของตนไปแลกกับเงินพดด้วง   แต่เนื่องจากเงินพดด้วงผลิตด้วยมือ   จึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ   เกิดความไม่สะดวกในด้านการค้า   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยเป็นเงินเหรียญแบนซึ่งถือว่าเป็นเงินตราสมัยใหม่ของไทยเป็นครั้งแรก      เพื่อให้พอเพียงกับการขยายตัวทางการค้าของประเทศ
เงินเหรียญแบน
                ใน พ.ศ.2399   พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า   ให้ทดลองผลิตเหรียญแบน    หรือเรียกในสมัยนั้นว่า” เงินแป ”    ขึ้นใช้สองชนิด  คือ   เหรียญทองคำและเหรียญเงินตราพระแสงจักร-พระมงกุฎ-พระเต้า   และเหรียญ ทองคำและเหรียญเงิน   ตราพระ มหา มงกุฎ-กรุง เทพ   เหรียญชนิดนี้ที่สองนี้    ต่อมาเมื่อได้รูปแบบมาตรบานแล้ว    ได้กลายเป็นแบบให้ชาวต่างประเทศแกะเป็นแม่ตราเพื่อทำเหรียญแบบ ต่อไป      เหรียญทั้งสองชนิดเป็นเหรียญแบนแบบยุโรปที่ผลิตด้วยมือ    โดยตีโลหะเป็นแผ่นแบนๆ แล้วตัดให้เป็นรูปเหรียญกลมๆ ตามขนาดและน้ำหนักที่ต้องการ   แล้วใช้แม่ตราตีประทับ   แต่ผลิตออกใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ   ก็โปรดให้เลิกไป   เพราะผลิตได้ช้า   และไม่ค่อยเรียบร้อย
                 ต่อ มาในปี พ.ศ.2400  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า   ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม  บุนนาค ) เป็นราชทูตไป เฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรียที่กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ   ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรียได้จัดส่งเครื่องทำเงินเหรียญขนาดเ,กมาถวาย   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้จัดทำเหรียญ ทองคำ   ชนิดราคาพัดดึงส์  และเหรียญเงิน  ตราพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ  ชนนิดราคาหนึ่งบาท  สองสลึง  หนึ่งสลึง  และหนึ่งเฟื้อง  เนื่องจากผลิตจากเครื่องจักรที่ได้ถวายเป็นราชบรรณาการ     จึงเรียกว่า “ เหรียญบรรณาการ ”นับเป็นเหรียญแบนที่ผลิตจากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก    เมื่อโรงกษาปณ์สิทธิการสามารถเดินเครื่องจักรผลิตเงินเหรียญได้ในปี พ.ศ.2403  จึงไม่ได้ใช้เครื่องดังกล่าวอีกตลอดราชกาล
                ต่อมา   เครื่องจักรทำเงินเหรียญที่ใช้แรงดันไอน้ำ   ซึ่งคณะทูตไทยได้สั่งซื่อจากบริษัท  เทเลอร์  เมืองเบอร์มิงแฮม   ประเทศอังกฤษ   ได้จัดส่งเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ  ตอนปลายปี พ.ศ.2401   แต่ติดปัญหาด้วยช่างไทยชาวต่างประเทศที่มีหน้าที่ติดตั้งได้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ  จนท้ายที่สุด  นายโหมด  อมาตยกุล ( พระยากษาปณ์กิจโกศล ) ได้ติดตั้งที่ค้างอยู่จนสำเร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2403  และรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้าง  “ โรงกระสาปน์สิทธิการ ”  อันเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกของไทยขึ้นในพระบรมราชวัง   ริมประตูสุวรรณบริบาลทิศตะวันออก   และเริ่มผลิตเหรียญเงินตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร   ซึ่งคล้ายกับเหรียญบรรณาการ  มี 5 ชนิดราคา  คือ  หนึ่งบาท  สองสลึง  หนึ่งสลึง  หนึ่งเฟื้อง  กึ่งเฟื้อง  และเหรียญทองพัดดึงส์อีกจำนวนหนึ่งด้วย   ออกใช้เมื่อวันที่  17  กันยายน  พ.ศ. 2403   แต่ยังโปรดเกล้า ฯ  ให้ใช้เงินพดด้วงอยู่   เพียงแต่ไม่ผลิตเพิ่ม
        สำหรับเงินปลีกนั้น   ยังคงใช้หอยเบี้ยในการซื่อขายเหมือนที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา   แต่ในรัชสมัยของพระองค์มักประสบปัญหาราคาเบี้ยไม่แน่นอน   ขึ้นกับปริมาณการนำเข้ามาขายของพ่อค้า  ใน พ.ศ. 2405   พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ  ให้ผลิตเหรียญดีบุกผสมทองแดง   ตราพระมหามงกุฎ-พระแสงจักร   ขึ้นใช้เป็นเงินปลีก    บางขนาดเล็กเรียกว่า  เบี้ยกะแปะ  หรือกะแปะดีบุก   ขนาดใหญ่เรียกว่า  อัฐ  เท่ากับ  เบี้ยขนาดเล็กเรียกว่า โสฬส  เท่ากับ  50 เบี้ย
                เมื่อ พ.ศ. 2406  มีทองคำเข้ามาในประเทศไทยมาก    รัชกาลที่ 4   จึงมีพระบรมราชโองการให้ทำเหรียญทองคำ  3  ขนาด  ขนาดใหญ่ราคา  8  บาท   เรียกว่า  ทศ  ขนาดกลางราคา  4  บาท  เรียกว่า  พิศ และขนาดเล็กราคา  10  สลึง  เรียกว่า  พัดดึงส์ ซึ่งราชกาลที่ 4   ได้ใช้เหรียญทองจ่ายเบี้ยหวัดแก่ข้าราชการในปีที่รัฐขาดแคลนเหรียญเงินด้วย
                ครั้งงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนพรรษา  60  พรรษาใน พ.ศ. 2407  รัชกาลที่  4  โปรดเกล้า ฯ ให้ สร้างเหรียญ ทองคำและเงินที่ระลึก  เรียกว่า  “ เหรียญเฉลิมพระชันษาครบ  60  ปีบริบูรณ์ ”   ราษฏรทั่วไปเรียกกันว่า  เหรียญแต้เม้ง   เพ อพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ